วิศวะอุตสาหการ หนึ่งในภาควิชาที่ถูกเรียกว่าเป็น “เป็ด”
วิศวะอุตสาหการ หนึ่งในภาควิชาที่ถูกเรียกว่าเป็น “เป็ด”

Industrial

Engineering

วิศวะอุตสาหการ หนึ่งในภาควิชาที่ถูกเรียกว่าเป็น “เป็ด”

โดย Tum Buapuean

19 มกราคม 2568

ทำไมวิศวะอุตสาหการ คือหนึ่งในภาควิชาที่ถูกเรียกว่าเป็น “เป็ด”

.

ก่อนอื่นเลยทุกคนอาจจะงงๆกันว่า วิศวะอุตสาหการเกี่ยวอะไรกับเป็ด

คำว่าเป็ดในที่นี้ เป็นคำที่ใช้เรียกสำหรับคนที่สามารถทำอะไรได้หลายๆอย่าง มีความรู้ในหลายๆด้าน เเต่อาจจะไม่ได้ลงลึกไปมากสักเท่าไหร่ ในทางสากลเรียกว่า Multipotentiality เปรียบเสมือนเป็ดที่สามารถว่ายน้ำได้ เเต่ไม่เร็วเท่าปลา หรือ สามารถบินได้ เเต่ไม่เร็วเท่านก เดินบนบกได้เเต่อาจจะไม่เร็วเท่าสัตว์ตัวอื่นๆ นั่นเอง

.

เเล้วทำไมวิศวะอุตสาหการถึงชอบถูกเรียกว่าเป็น "เป็ด"

เหตุผลก็คือ วิศวะอุตสาหการนั้นเป็นสาขาที่เรียนหลากหลายด้านเเต่ไม่ได้เฉพาะเจาะจง เช่น การออกแบบ พัฒนา วางแผน ควบคุม วิจัยดำเนินงาน การบริหารจัดการ และติดตามประเมินผลระบบโดยรวม โดยครอบคลุมปัจจัยทุกๆด้าน ทั้งบุคคล ข้อมูล เครื่องจักรอุปกรณ์ วัสดุ พลังงาน การเงิน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สรุปก็คือ พยายามหาทางใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ และให้เกิดประโยชน์สูงสุด

.

วิศวะอุตสาหการ สามารถทำงานได้หลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรโรงงาน วิศวกรฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ วิศวกรความปลอดภัย วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต วิศวกรระบบ วิศวกรฝ่ายขาย วิศวกรดูแล Supply Chain และ Logistics ซึ่งมีโอกาสก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ผู้จัดการโรงงานหรือผู้บริหารองค์กรได้ เนื่องจากเรียนมาทั้งด้านวิศวกรรมและการบริหาร นอกจากนี้อาจทำงานอื่น ๆ นอกเหนือจากโรงงานต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นที่ปรึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการลดต้นทุนในบริษัทต่าง ๆ วิศวกรวิเคราะห์ความเสี่ยงในสถาบันการเงิน หรือจะทำงานรับราชการในกระทรวงต่าง ๆ หากอยากเรียนต่อก็สามารถประกอบอาชีพ ครู อาจารย์ นักวิจัย ได้ในอนาคต หรือสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวได้ตามที่ต้องการ

.

ทั้งนี้ในความหลากหลายก็จะมีทั้งข้อดีเเละข้อเสียเช่นกัน ซึ่งก็อยู่ที่ตัวเเต่ละบุคคลเองด้วยว่าจะสามารถนำทักษะต่างๆไปพัฒนาตนเองให้เกิดประโยชน์ได้มากเเค่ไหน เพราะปัจจุบันเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า ในยุคนี้ทุกๆอาชีพจะต้องปรับตัวเเละพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ใครที่มีความสามารถหลากหลายมากกว่าก็ย่อมที่จะได้เปรียบมากกว่านั่นเอง